วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
                ปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพราะเป็นภาษาสิ่อสารที่ใช้กันในโลก ในตอนนี้มีการติดต่อกันมากขึ้น การแปลจึงมีความสำคัญมากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในเรื่องต่างๆ บางคนไม่รู้ภาษาจึงต้องใช้ตัวช่วยคือผู้แปลเพื่อประหยัดเวลาและได้งานมีประสิทธิภาพ งานแปลจึงเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า งานแปลถ่ายทอดภาษาซึ่งกันและกันซึ่งเป็นงานที่ต้องศึกษาวิเคราะห์ พิจารณากลั่นกรองซึ่งเป็นงานละเอียดอ่อนผู้แปลต้องตื่นตัวอยู่เสมอ
 การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มมีตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศสจึงมีการฝึกนักแปลเพื่อแปลเอกสารต่างๆเพื่อติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและมีการสอนภาษาในราชสำนัก
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แปลต้องเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีภาษาเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ และการแปลจะมีปัญหามากหากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย  เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษาการใช้ภาษารวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้ที่จะแปลได้ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษา
การแปลคืออะไร
                การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปภาษาหนึ่ง โดยมีใจความครบสมบูรณ์ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมใดๆทั้งสิ้นอีกทั้งรักษาให้คงรูปตามต้นฉบับ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือ สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม      
นักแปลที่มีคุณภาพหมายถึง    นักแปลที่มีความสามรถถ่ายทอดความคิดของตนฉบับได้ครบถ้วนโดยไม่ขาดหรือไม่เกิน  นักแปลจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับ (Source Language) และภาษาที่ใช้แปล (Target Language) เป็นอย่างดี จึงควรฝึกภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาแม่ (Mother Tongue) ดังนั้นนักแปลไทยจึงเน้นความสำคัญในการแปลจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย (One-Way translator)
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. ฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
2. การแปรให้ได้ผล ตามทฤษฎีวิชาแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับ2ทักษะ คือ ทักษะในการอ่านและการเขียน
3. ผู้สอนแปลต้องเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวางจากแหล่งต่างๆ
4. ให้ผู้แปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ
                สรุปการแปลที่ดีต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง ผู้แปลต้องมีศิลปะจนผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับอ่านต้นฉบับ
                สรุป งานแปลเป็นงานที่ยากและเป็นงานที่ไม่มีใครกล่าวขอบคุณผู้แปล จะมีแต่คนวิพากษ์วิจารณ์หากแปลผิดพลาด แต่ถ้าแปลดีอาจได้คำยกย่องเล็กน้อยผู้ที่รู้สองภาษาอย่างดีจะแปลหนังสือได้ดี รางวัลของผู้แปลก็คือผลงานแปล
บทบาทของการแปล
                การแปลเป็นทักษะพิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร (Receiver) ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง  แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง

ลักษณะของงานแปลที่ดี
 ควรมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจน ใช้รูปประโยคสั้นๆ ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสมและรักษาสไตล์การเขียนของผู้แต่งต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำ สำนวนให้เข้ากับสังคม เพื่อให้ปูอ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
 1. ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดย ทั่วไป ใช้ศัพท์เฉพาะภาษา และศัพท์เทคนิคได้เหมาะสมครอบคลุมความหมายได้หมด และใช้รูปแบบประโยควรรคตอนตลอดจนสำนวนเปรียบเทียบได้เหมาะสมด้วย
2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาไทยได้ เน้นความชัดเจนของภาษา
3. ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
สรุปคุณสมบัติของผู้แปล
1. เป็นผู้ที่ความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาที่ใช้แปลดีและหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
2. เป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าหาความรู้ในวิชาการแขนงอื่นๆ
3. เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล มีพื้นฐานการศึกษามาทางด้นไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษารวมทั้งการใช้ภาษา
4. เป็นผู้ที่มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาให้การแปลได้อย่างจริงจัง
ลักษณะของงานแปลที่ดี
งานแปลจะต้องมีความตรงกันในด้านความหมายของงานต้นฉบับและงานฉบับแปล และมีความสละสลวยในภาษาที่ใช้แปล งานแปลที่ดีต้องมีคุณสมบัติสองประการ คือความถูกต้องตรงกันในเรื่องความหมายและภาษาที่สละสลวย ผู้แปลจึงต้องรู้ทั้งสองภาษา คือมีความรู้อย่างดีทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล
1. ความหมายถูกต้อง และถูกต้องตามต้นฉบับ
2. รูปแบบที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
3. สำนวนที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
การแปลจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งนั้น ผู้แปลจะต้องรักษาความหมายของต้นฉบับเดิมไว้ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง โดยมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาที่แปลที่เหมาะสม
การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตนให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1. การแปลที่ใช้ประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2. การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
การแปลการตีความจากบริบท
ความใกล้เคียง (Context ) และความคิดรวบยอด ( Concept) ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน (paraphasing) แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ
การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ
1.องค์ประกอบของความหมาย
2.ความหมายและรูปแบบ
3.ประเภทของความหมาย
องค์ประกอบของความหมายคือ
1. คำศัพท์ 2. ไวยกรณ์ 3.  เสียง
รูปแบบของภาษาแต่ละภาษามีความหมายอาจจะเป็นรูปของเสียงคำศัพท์หรือไวยากรณ์
ความหมายและรูปแบบ มีความสัมพันธ์กันดังนี้
1.  ในแต่ละภาษา ความหมาย 1 อาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2.  รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของแต่ละรูปแบบไม่แน่นอนตายตัวเสมอไปขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย
1.  ความหมายอ้างอิง (referential meaning) คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หรือความคิด มโนภาพ
2. ความหมายแปล (Connotative meaning)หมายถึงความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
3.ความหมายตามปริบท (Contextual meaning)รูปแบบหนึ่งของภาษาจะมีหลายความหมาย
4. ความหมายเชิงอุปมา(figurative meaning)เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย
การเลือกบทแปล -ตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น