วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning Log


                                        


ในการเรียนวิชาการแปลนักเรียนต้องรู้จักตัวเองซะก่อน รู้จักฝึกฝนและหาประสบการณ์เพื่อพัฒนาตัวเองทั้งนอกและในชั้นเรียนซึ่งจะทำให้เราเป็นนักเรียนที่กระตื้อรื้อร้นตลอดเวลาเพื่อหาความรู้ในทุกๆทางในทุกๆด้านเพื่อจะทำให้ตนเองบรรลุผลสำเร็จเร็วขึ้นและมีคุณภาพอีกด้วย โดยตัวเองเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญมากหากเราไม่เริ่มต้นก็จะไม่บรรลุผลฉะนั้นทุกๆอย่างอยู่ที่ตัวเราเองทั้งหมด
การเรียนรู้ที่ดีนั้นต้องอาศัยกระบวนที่จะเรียนรู้เพื่อให้ประสบผลสำเร็จคือ
  Input             →      Process       →          Product        →         Outcome
ครู+นักเรียน    ครูรู้นักเรียนเพื่อทำหลักสูตร นักเรียนเรียนรู้ต่างๆเพื่อพัฒนาตนเองทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน และเมื่อเรียนรู้แล้วสามารถตอบสนองได้ตามธรรมชาติไม่ใช่ตอบสนองเพียงเพราะจดจำ         การเรียนรู้จะมีสมการคือ  Comprehensible Input   = I + 1 การเรียนรู้นั้นครูจะต้องรู้พื้นฐานของนักเรียน เพื่อได้รู้ว่าครูควรจะป้อนอะไรให้กับนักเรียน  และควรให้เนื้อหาที่ยากกว่าเพื่อที่จะให้นักเรียนพัฒนาตนเอง และในการเรียนที่จะพัฒนาตนเองให้ประสบผลสำเร็จ นักเรียนต้องมั่นตรวจสอบตัวเอง(Meta cognition)
นักแปลที่ดีจะต้องเรียนรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอๆและแปลอย่างสั้น  ชัดเจน  กะทัดรัด ยังคงความหมายเดิมและเมื่อแปลเสร็จแล้วควรจะตรวจทวนโดยการแปลกลับ ซึ่งจะทำให้การแปลของเราดีขึ้นตามลำดับหากเราพัฒนาตัวเองอยู่บ่อยๆ

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learnimg Log


Learning Log

จากการอ่านและหาความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากห้องเรียนได้อ่านประเภทของกริยาเพราะก่อนจะอ่านเรื่องTense แต่ล่ะแบบต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ประเภทของกริยาก่อนเพราะมันเป็นพื้นฐานของ การเรียนรู้ในเรื่องTense
กริยาจะมี 3 กลุ่มคือ แสดงความต่อเนื่อง (Continuous Verb )เช่น eat/sleep  แสดงความไม่ต่อเนื่อง                 ( Non- Continuous Verb) เช่น love /want  และสุดท้ายมีความหมาย 2 แบบ เป็นได้ทั้ง 2 อย่าง เช่น have  weight
                กลุ่มที่ 1 (Continuous Verb) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด กริยาส่วนใหญ่แสดงความต่อเนื่อง การกระทำแบบแสดง act out เราเห็นการกระทำนั้นๆ to walk / to run /to eat / to sleep etc.
I slept very well last night.
                กลุ่มที่ 2( Non- Continuous Verb) กริยากลุ่มนี้ไม่สามรถมองเห็นด้วยตา เช่น to love / to need /t o want /to belong etc.
                กลุ่มที่ 3( Mixed Verb) กลุ่มนี้น้อยสุด มี 2 ความหมาย ความหมายแรกสามารถแสดงออกมาได้ในขณะอีกความหมายหนึ่งหมายถึง แสดงกิยาออกมาไม่ได้ เช่น to have / to feel / to weight / to near etc.
 Kelly misses Betty.
Kelly missing the train.

                ต่อไปนี้เมื่อพบกริยาตัวใดๆ ลองถามตัวเองว่าเป็นกริยาที่อยู่ในกลุ่มไหน แล้วนึกภาพดูกริยานั้นๆ แล้วเห็นอะไร ใครกำลังทำอะไร ทำให้เราเข้าใจง่ายขึ้นและเข้าใจเรื่องTense ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย 

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

         คำว่า โครงสร้าง ตรงกับคำภาอังกฤษว่า structure       โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา ถ้าเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร คือฟังหรืออ่านไม่เข้าใจ และพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ ในการแปล ผู้แปลมักนึกถึงศัพท์ เช่นเมื่อแปลไทยเป็นอังกฤษก็พยายามค้นหาศัพท์ในภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับภาษาไทย ปัญหาที่สำคัญนั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม่จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของคำศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้

1. ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
       ชนิดของคำ (parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
         ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ เช่น บุรุษ (person) พจน์ (number) ลิงค์ (gender) การก (case) กาล (tense) มาลา (mood) วาจก (voice) เป็นต้น นอกจากนั้นในภาษาอังกฤษ การเลือกใช้ see หรือ saw ก็เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะภาษาจะบังคับให้ผู้พูดรู้จักเวลาของเหตุการณ์ให้ชัดเจนว่าเป้นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ส่วนในภาษาไทยไม่มีการบังคับ  
ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
 1.1 คำนาม
                เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้
       1.1.1 บุรุษ (person)
                  บุรุษ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่บอกว่าคำนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่1)ผู้ที่ถูกพุดด้วย (บุราที่2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่3)
         1.1.2 พจน์ (number)
                   พจน์ เป็นประโยคทางไวยากรณ์ที่แบ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
           1.1.3 การก (case)
                    การก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนานเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก แต่ใช้การเรียงคำ เหมือนกบการกประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ
           1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
                      การใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม-s ที่นามนับได้พหุพจน์ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และต้องไม่เติม –s ในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณะนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้
           1.1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness)
                         คือ การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ เครื่องหมาย a/an ซึ่งบ่งความไม่ชี้เฉพาะ และ the ซึ่งบ่งความชี้เฉพาะ
1.2 คำกริยา
         การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม เพรามีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล (tense) การณ์ลักษณะ (aspect) มาลา (mood) วาจก (voice) และการแยกความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้
                  1.1.1 กาล (tense)
                           ในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ผู้พุดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากคำบ่งชี้กาล
                    1.1.2 การณ์ลักษณะ (aspect)
                              การณ์ลักษณะ หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์ ในภาษาอังกฤษการณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่องหรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่ ซึ่งแสดงโดย verb to be + present participle (-ing) และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น ซึ่งแสดงโดย verb to have + past participle ในภาษาไทย เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือดำเนินอยู่แสดงด้วยคำว่า กำลังหรือ อยู่หรือใช้ทั้งคู่
                  1.1.3 มาลา (mood)
                           มาลาเป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเหตุการณ์ที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลาแต่ในภาษาอังกฤษมี มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries ในภาษาไทย มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา
                   1.1.4 วาจก (voice)
                            วาจก เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยกริยาว่าประธานเป็นผู้กระทำ(กรรตุวาจก)หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ(กรรมวาจก) ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก
                    1.1.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs.non-finite)
                               คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้ กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงคำเดียวเท่านั้น ในภาษาไทย ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ กล่าวคือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน
        1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น
                ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกริยาที่มีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่คำบุพบท คำ adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจมีปัญหากับคนไทย เพราะ ต้องใช้กับ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมด นอกจากนั้น adjective ที่เรียงกันหลายคำเพื่อขยายคำนามที่เป็นคำหลัก เมื่อแปลเป็นไทยอาจมีปัญหาเพราะในภาษาไทยคำขยายอยู่หลังคำหลักตรงข้ามกับคำในภาษาอังกฤษ ทำให้เรียงคำแบบภาษาอังกฤษไม่ได้
                คำอีกประเภทที่ไม่ขนานกันระหว่างภาษาไทยกับภาอังกฤษ ได้แก่คำลงท้าย ได้แก่ คะ ครับ นะ สิ เถอะ ล่ะ แน่ะ ฯลฯ คำเหล่านี้มีความหมายละเอียดอ่อนและในภาษาอังกฤษไม่มีคำประเภทนี้ เมื่อแปลไทยเป็นอังกฤษจะต้องใช้คำประเภทอื่นหรือรูแบบอื่นแทน

     2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
             หน่วยสร้าง หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เช่นหน่วยสร้างนามวลี หน่วยสร้างคำวาจก หน่วยสร้างคุณานุประโยค เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
          2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด(Determiner)+นาม (อังกฤษ) vs. นาม(ไทย)
                  นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีคัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ นอกจากนั้นตัวกำหนดยังนำหน้านามเพื่อบ่งบอกความชี้เฉพาะของคำนาม ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด แบบ a, an, the ในภาษาอังกฤษมีแต่คำบ่งชี้ เช่น นี้ นั้น โน้น นู้น ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้ไกล
            2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วยขยาย+ส่วนหลัก (อังกฤษ) vs. ส่วนหลัก + ส่วนขยาย(ไทย)
                    ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้หน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม เวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วยขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช่ได้
             2.3 หน่วยสร้างคำวาจก (passive constructions)
                    ผู้แปลไม่จำเป็นต้องจำเป็นถ่ายทอดหน่วยสร้างกรรมวาจก ภาษาอังกฤษเป็นหน่วยสร้างคำวาจกรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
              2.4 หน่วยสร้างประโยค subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)
                      ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเน้น supject
                2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย
                       หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล ได้แก่หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรกั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า

   3. สรุป
           ในการแปลระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษนั้น ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
         3.1 เรื่องชนิดของคำ
                  ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด นาม กริยา คุณศัพท์ วิเศษณ์ บุพบท ภาษาไทยมีประเภทของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์
          3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
                   สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษพจน์ นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
          3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
                   นามวลี ในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยมีหรือไม่มีตัวกำหนดก็ได้
                   การวางส่วยขยายในนามวลี มีความแตกต่างอย่างตรงข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
                   หน่วยสร้างกรรมวาจก ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
                   ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมี
                    หน่วยสร้างกริยาเรียง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ


                             

                  

บทที่1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
                ปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพราะเป็นภาษาสิ่อสารที่ใช้กันในโลก ในตอนนี้มีการติดต่อกันมากขึ้น การแปลจึงมีความสำคัญมากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในเรื่องต่างๆ บางคนไม่รู้ภาษาจึงต้องใช้ตัวช่วยคือผู้แปลเพื่อประหยัดเวลาและได้งานมีประสิทธิภาพ งานแปลจึงเป็นอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า งานแปลถ่ายทอดภาษาซึ่งกันและกันซึ่งเป็นงานที่ต้องศึกษาวิเคราะห์ พิจารณากลั่นกรองซึ่งเป็นงานละเอียดอ่อนผู้แปลต้องตื่นตัวอยู่เสมอ
 การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มมีตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศสจึงมีการฝึกนักแปลเพื่อแปลเอกสารต่างๆเพื่อติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและมีการสอนภาษาในราชสำนัก
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แปลต้องเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีภาษาเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ และการแปลจะมีปัญหามากหากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย  เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษาการใช้ภาษารวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้ที่จะแปลได้ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษา
การแปลคืออะไร
                การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปภาษาหนึ่ง โดยมีใจความครบสมบูรณ์ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมใดๆทั้งสิ้นอีกทั้งรักษาให้คงรูปตามต้นฉบับ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือ สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม      
นักแปลที่มีคุณภาพหมายถึง    นักแปลที่มีความสามรถถ่ายทอดความคิดของตนฉบับได้ครบถ้วนโดยไม่ขาดหรือไม่เกิน  นักแปลจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับ (Source Language) และภาษาที่ใช้แปล (Target Language) เป็นอย่างดี จึงควรฝึกภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาแม่ (Mother Tongue) ดังนั้นนักแปลไทยจึงเน้นความสำคัญในการแปลจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย (One-Way translator)
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. ฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
2. การแปรให้ได้ผล ตามทฤษฎีวิชาแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับ2ทักษะ คือ ทักษะในการอ่านและการเขียน
3. ผู้สอนแปลต้องเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวางจากแหล่งต่างๆ
4. ให้ผู้แปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ
                สรุปการแปลที่ดีต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง ผู้แปลต้องมีศิลปะจนผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับอ่านต้นฉบับ
                สรุป งานแปลเป็นงานที่ยากและเป็นงานที่ไม่มีใครกล่าวขอบคุณผู้แปล จะมีแต่คนวิพากษ์วิจารณ์หากแปลผิดพลาด แต่ถ้าแปลดีอาจได้คำยกย่องเล็กน้อยผู้ที่รู้สองภาษาอย่างดีจะแปลหนังสือได้ดี รางวัลของผู้แปลก็คือผลงานแปล
บทบาทของการแปล
                การแปลเป็นทักษะพิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร (Receiver) ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง  แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง

ลักษณะของงานแปลที่ดี
 ควรมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจน ใช้รูปประโยคสั้นๆ ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสมและรักษาสไตล์การเขียนของผู้แต่งต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำ สำนวนให้เข้ากับสังคม เพื่อให้ปูอ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
 1. ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดย ทั่วไป ใช้ศัพท์เฉพาะภาษา และศัพท์เทคนิคได้เหมาะสมครอบคลุมความหมายได้หมด และใช้รูปแบบประโยควรรคตอนตลอดจนสำนวนเปรียบเทียบได้เหมาะสมด้วย
2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาไทยได้ เน้นความชัดเจนของภาษา
3. ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
สรุปคุณสมบัติของผู้แปล
1. เป็นผู้ที่ความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาที่ใช้แปลดีและหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
2. เป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าหาความรู้ในวิชาการแขนงอื่นๆ
3. เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล มีพื้นฐานการศึกษามาทางด้นไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษารวมทั้งการใช้ภาษา
4. เป็นผู้ที่มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาให้การแปลได้อย่างจริงจัง
ลักษณะของงานแปลที่ดี
งานแปลจะต้องมีความตรงกันในด้านความหมายของงานต้นฉบับและงานฉบับแปล และมีความสละสลวยในภาษาที่ใช้แปล งานแปลที่ดีต้องมีคุณสมบัติสองประการ คือความถูกต้องตรงกันในเรื่องความหมายและภาษาที่สละสลวย ผู้แปลจึงต้องรู้ทั้งสองภาษา คือมีความรู้อย่างดีทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล
1. ความหมายถูกต้อง และถูกต้องตามต้นฉบับ
2. รูปแบบที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
3. สำนวนที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
การแปลจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งนั้น ผู้แปลจะต้องรักษาความหมายของต้นฉบับเดิมไว้ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง โดยมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาที่แปลที่เหมาะสม
การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตนให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1. การแปลที่ใช้ประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2. การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
การแปลการตีความจากบริบท
ความใกล้เคียง (Context ) และความคิดรวบยอด ( Concept) ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน (paraphasing) แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ
การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ
1.องค์ประกอบของความหมาย
2.ความหมายและรูปแบบ
3.ประเภทของความหมาย
องค์ประกอบของความหมายคือ
1. คำศัพท์ 2. ไวยกรณ์ 3.  เสียง
รูปแบบของภาษาแต่ละภาษามีความหมายอาจจะเป็นรูปของเสียงคำศัพท์หรือไวยากรณ์
ความหมายและรูปแบบ มีความสัมพันธ์กันดังนี้
1.  ในแต่ละภาษา ความหมาย 1 อาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2.  รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของแต่ละรูปแบบไม่แน่นอนตายตัวเสมอไปขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย
1.  ความหมายอ้างอิง (referential meaning) คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หรือความคิด มโนภาพ
2. ความหมายแปล (Connotative meaning)หมายถึงความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
3.ความหมายตามปริบท (Contextual meaning)รูปแบบหนึ่งของภาษาจะมีหลายความหมาย
4. ความหมายเชิงอุปมา(figurative meaning)เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย
การเลือกบทแปล -ตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล