วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ


ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

มนุษย์แต่ละชาติแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละเผ่าจะมีการกำหนดเสียงที่ใช้สื่อสารกัน เพื่อสื่อความหมายเป็นภาษา ภาษาจึงเป็นสิ่งที่สังคมร่วมกันกำหนดขึ้น ที่จะให้เสียงใดมีความหมายอย่างใด ด้วยเหตุนี้ เสียงในภาษาแต่ละภาษาจึงต่างกัน เช่น เสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ ขณะที่ในภาษาอังกฤษจะไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เป็นต้น

ความหมายของภาษา คำว่า ภาษาเป็นคำภาษาสันสฤต แปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากันภาษาเป็นเครื่องหมายที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาอย่างมีระบบเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกันในแต่ละกลุ่ม แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. วัจนภาษา ภาษาที่เป็นถ้อยคำสำหรับใช้สื่อสารทั้งที่เป็นคำพูดหรือเป็นตัวหนังสือ
๒. อวัจนภาษา ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เป็นการสื่อสารกันโดยใช้กิริยาท่าทางหรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ
การเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติซึ่งหมายถึงภาษาเขียนภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทยทั้งนี้เพื่อให้คนไทยผู้อ่านผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารองค์ประกอบที่นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติได้แก่องค์ประกอบย่อยของการแปลคือคำความหมายการสร้างคำและสำนวนโวหารดังนี้

คำความหมายและการสร้างคำ
คำและความหมายคำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงหรือความหมายเชิงเปรียบเทียบคำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัยเช่นในสมัยก่อนก่อนมีความหมายอย่างหนึ่งแต่ปัจจุบันแตกต่างกันบางครั้งก็ตรงกันข้ามกันบางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดีบางครั้งก็มีความหมายในทางที่ไม่ดี

สำนวนโวหาร
ในการไปขั้นสูงผู้แปลต้องรู้จักสำนวนการเขียนและการใช้โวหารหลายๆแบบมิฉะนั้นจะทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจนบางครั้งอาจทำให้เข้าใจผิดหรือตรงกันข้ามกันการอ่านมากจะทำให้คุ้นเคยกับสำนวนโวหารแบบต่างๆในวรรณกรรมชั้นดีของผู้เขียนมักจะใช้สำนวนโวหารแปลกๆซับซ้อนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความบันเทิงแต่ถ้าผัวไม่เข้าใจก็จะไม่มีความสุขในการอ่าน

โวหารภาพพจน์
โวหารที่นักแปลจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้คือโวหารภาพพจน์ทั้งนี้เพราะนักเขียนหรือกวีมักจะสร้างภาพพจน์อย่างกว้างขวางสลับซับซ้อนถ้าผู้อ่านมีประสบการณ์น้อยก็จะตามไม่ทันและไม่เข้าใจบางครั้งก็บอกว่ากวีนั้นโง่บางครั้งกวีโบราณสร้างภาพพจน์ถึงสิ่งที่ในปัจจุบันไม่มีอีกแล้วนะอ่านบางคนไม่รู้จักก็คิดว่ากวีบิดเบือนความจริงเพื่อป้องกันการไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ผู้อ่านควรวางใจเป็นกลางศึกษาแนวคิดและการใช้โวหารภาพพจน์ซึ่งผู้เขียนทั้งเก่าใหม่ทุกชาติทุกภาษาได้ใช้ร่วมกันดังนี้
 1 โวหารอุปมา Simele คือการสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบโดยมีจุดมุ่งหมายชี้แจงอธิบายพูดพาดพิงถึงให้เสริมให้งดงามการเปรียบเทียบแบบนี้มักจะใช้คำเชื่อม
 2 โวหารอุปลักษณ์ metaphor คือการเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบแบบนี้แสดงความเก่งของกวีเพราะกวีจะเลี่ยงการใช้คำพื้นๆไปสู่คำใหม่ที่น่าตื่นเต้นและเร้าใจ
3 โวหารเย้ยหยัน Irony การใช้คำด้วยอารมณ์ขันเพื่อยั่วล้อเยอะอย่าเหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องและความไม่ฉลาดของสิ่งที่ต้องการกล่าวถึงบัวผันเช่นนี้พูดเก่งมักจะแสร้งทำเป็นโง่ดังนั้นความที่หมายที่แท้จริงคือฉลาดนั่นเองมักจะเป็นถ้อยคำถากถางแดกดันและขบขันนักเลงนักปราชญ์กรีกผู้หนึ่งคือโซคราติสได้ริเริ่มการถากตัวเองและหัวเราะเยาะ จุดอ่อนของตัวเองดังนั้นวิธีพูดหรือเขียนโดยยกตัวเองเป็นเป้าล่อจึงเรียกว่าโวหารเย้ยหยันแบบโซคราติส
4 โวหารขัดแย้ง Contrast คือการใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกันมาเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้โวหารขัดแย้งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า paradox เป็นการกล่าวโดยขัดแย้งกับความจริงหรือความเชื่อและความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปเป็นคำกล่าวที่ดูเหมือนจะขัดกันเองแต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วจะเป็นความจริง
 5 โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด Metonymy ได้แก่การนำคุณสมบัติเด่นๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนที่จะเอ่ยนามสิ่งนั้นออกมาตรงตรงรวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งของและของใช้ประจำบุคคลโดยไม่กล่าวชื่อของสิ่งของหรือบุคคลนั้นๆ
6 โวหารบุคคลาธิษฐาน Personification  คือการนำสิ่งต่างๆที่ไม่มีชีวิตรวมทั้งความคิดการกระทำและนามธรรมเปิดตื่นมากล่าวเหมือนเป็นบุคคลการใช้บุคคลาธิษฐานนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของโวหารMetaphor
7โวหารที่กล่าวเกินความจริง Hyperboleโวหารเช่นนี้มีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญทีให้ชัดเจนและเด่นและใช้เพื่อแสดงอารมณ์ที่รุนแรง
ลักษณะที่ดีของสำนวนโวหารมักจะประกอบไปด้วยดังต่อไปนี้
1 ถูกหลักภาษาคือไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์
2 ไม่กำกวมคือสำนวนโวหารที่ดีจะต้องชัดเจนแม่นตรง
3 มีชีวิตชีวาคือไม่แนบนาบชวนอ่านแต่มีชีวิตชีวาเร้าใจชวน
4 สมเหตุสมผลคือน่าเชื่อถือมีเหตุผลรอบคอบไม่มีอคติไม่สร้างความหลงผิดให้แก่ผู้อ่านน่าเชื่อถือ
ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติมีความสำคัญมากเพราะภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ ภาษาศาสตร์มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม

ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาลเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น