วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

         คำว่า โครงสร้าง ตรงกับคำภาอังกฤษว่า structure       โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา ถ้าเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร คือฟังหรืออ่านไม่เข้าใจ และพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ ในการแปล ผู้แปลมักนึกถึงศัพท์ เช่นเมื่อแปลไทยเป็นอังกฤษก็พยายามค้นหาศัพท์ในภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับภาษาไทย ปัญหาที่สำคัญนั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม่จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของคำศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้

1. ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
       ชนิดของคำ (parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
         ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ เช่น บุรุษ (person) พจน์ (number) ลิงค์ (gender) การก (case) กาล (tense) มาลา (mood) วาจก (voice) เป็นต้น นอกจากนั้นในภาษาอังกฤษ การเลือกใช้ see หรือ saw ก็เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะภาษาจะบังคับให้ผู้พูดรู้จักเวลาของเหตุการณ์ให้ชัดเจนว่าเป้นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ส่วนในภาษาไทยไม่มีการบังคับ  
ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
 1.1 คำนาม
                เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้
       1.1.1 บุรุษ (person)
                  บุรุษ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่บอกว่าคำนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่1)ผู้ที่ถูกพุดด้วย (บุราที่2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่3)
         1.1.2 พจน์ (number)
                   พจน์ เป็นประโยคทางไวยากรณ์ที่แบ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
           1.1.3 การก (case)
                    การก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนานเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร ในภาษาอังกฤษการกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก แต่ใช้การเรียงคำ เหมือนกบการกประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ
           1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
                      การใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม-s ที่นามนับได้พหุพจน์ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และต้องไม่เติม –s ในภาษาไทย คำนามทุกคำนับได้ เพราะเรามีลักษณะนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้
           1.1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness)
                         คือ การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ เครื่องหมาย a/an ซึ่งบ่งความไม่ชี้เฉพาะ และ the ซึ่งบ่งความชี้เฉพาะ
1.2 คำกริยา
         การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม เพรามีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล (tense) การณ์ลักษณะ (aspect) มาลา (mood) วาจก (voice) และการแยกความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้
                  1.1.1 กาล (tense)
                           ในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ผู้พุดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากคำบ่งชี้กาล
                    1.1.2 การณ์ลักษณะ (aspect)
                              การณ์ลักษณะ หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์ ในภาษาอังกฤษการณ์ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่องหรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่ ซึ่งแสดงโดย verb to be + present participle (-ing) และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น ซึ่งแสดงโดย verb to have + past participle ในภาษาไทย เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือดำเนินอยู่แสดงด้วยคำว่า กำลังหรือ อยู่หรือใช้ทั้งคู่
                  1.1.3 มาลา (mood)
                           มาลาเป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเหตุการณ์ที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลาแต่ในภาษาอังกฤษมี มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries ในภาษาไทย มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยา
                   1.1.4 วาจก (voice)
                            วาจก เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยกริยาว่าประธานเป็นผู้กระทำ(กรรตุวาจก)หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ(กรรมวาจก) ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก
                    1.1.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs.non-finite)
                               คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้ กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงคำเดียวเท่านั้น ในภาษาไทย ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ กล่าวคือกริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน
        1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น
                ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกริยาที่มีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่คำบุพบท คำ adjective ในภาษาอังกฤษก็อาจมีปัญหากับคนไทย เพราะ ต้องใช้กับ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมด นอกจากนั้น adjective ที่เรียงกันหลายคำเพื่อขยายคำนามที่เป็นคำหลัก เมื่อแปลเป็นไทยอาจมีปัญหาเพราะในภาษาไทยคำขยายอยู่หลังคำหลักตรงข้ามกับคำในภาษาอังกฤษ ทำให้เรียงคำแบบภาษาอังกฤษไม่ได้
                คำอีกประเภทที่ไม่ขนานกันระหว่างภาษาไทยกับภาอังกฤษ ได้แก่คำลงท้าย ได้แก่ คะ ครับ นะ สิ เถอะ ล่ะ แน่ะ ฯลฯ คำเหล่านี้มีความหมายละเอียดอ่อนและในภาษาอังกฤษไม่มีคำประเภทนี้ เมื่อแปลไทยเป็นอังกฤษจะต้องใช้คำประเภทอื่นหรือรูแบบอื่นแทน

     2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
             หน่วยสร้าง หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เช่นหน่วยสร้างนามวลี หน่วยสร้างคำวาจก หน่วยสร้างคุณานุประโยค เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
          2.1 หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด(Determiner)+นาม (อังกฤษ) vs. นาม(ไทย)
                  นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีคัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ นอกจากนั้นตัวกำหนดยังนำหน้านามเพื่อบ่งบอกความชี้เฉพาะของคำนาม ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด แบบ a, an, the ในภาษาอังกฤษมีแต่คำบ่งชี้ เช่น นี้ นั้น โน้น นู้น ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้ไกล
            2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วยขยาย+ส่วนหลัก (อังกฤษ) vs. ส่วนหลัก + ส่วนขยาย(ไทย)
                    ในหน่วยสร้างนามวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้หน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม เวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทย ถ้าส่วยขยายไม่ยาวเราเพียงแต่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช่ได้
             2.3 หน่วยสร้างคำวาจก (passive constructions)
                    ผู้แปลไม่จำเป็นต้องจำเป็นถ่ายทอดหน่วยสร้างกรรมวาจก ภาษาอังกฤษเป็นหน่วยสร้างคำวาจกรูปแบบเด่นชัด และมีแบบเดียว แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
              2.4 หน่วยสร้างประโยค subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)
                      ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น topic ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเน้น supject
                2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย
                       หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล ได้แก่หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรกั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า

   3. สรุป
           ในการแปลระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษนั้น ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
         3.1 เรื่องชนิดของคำ
                  ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด นาม กริยา คุณศัพท์ วิเศษณ์ บุพบท ภาษาไทยมีประเภทของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นคุณศัพท์
          3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
                   สำหรับคำนาม ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษพจน์ นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
          3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
                   นามวลี ในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับ แต่ในภาษาไทยมีหรือไม่มีตัวกำหนดก็ได้
                   การวางส่วยขยายในนามวลี มีความแตกต่างอย่างตรงข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
                   หน่วยสร้างกรรมวาจก ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบ
                   ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมี
                    หน่วยสร้างกริยาเรียง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ


                             

                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น